Friday, November 30, 2018

ทำสมาธิหน้ามือถือ

คาถาบูชา สมเด็จพระพุฒาจารย์โต

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ (๓ จบ)

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ



 
 

การฝึกทำสมาธิมีหลายรูปแบบ
แล้วแต่ผู้สอนจะนำมาแนะนำ ทางโครงการผู้ก่อการบุญ จะแนะนำการทำสมาธิพอ ปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

การฝึกหายใจให้สมบูรณ์ คือการฝึกหายใจให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนอย่างเต็มที่ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจแจ่มใส การอยู่ในอริยาบทที่สบาย ถ้านั่งก็นั่งแบบสบายๆ แต่ไม่ต้องเอนไปเอนมา เป็นมนุษย์ไร้สันหลังนะครับ ค่อยๆหายใจเข้าลึกๆ จนลมหายใจไปถึงกระบังลม ที่เรียกว่าหายใจเข้าท้องป่อง หลังจากนั้นก็หยุดหายใจสัก ๒-๔ วินาที เพื่อให้ปอดได้รับอ็อกซิเจนอย่างเต็มที่ แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกอย่างช้าๆ จนท้องแฟ่บ ซึ่งข้อมูลการหายใจแบบนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ วิทยาศาสตร์การหายใจ ของเจ้าคุณนรฯ ซึ่งได้แปลและเรียบเรียงค้นคว้าขึ้นมา ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตอนนี้หนังสือเป็นลิขสิทธิ์ ของมูลนิธิเจ้าคุณนรฯ
เมื่อหายใจอย่างสมบูรณ์แล้วก็มาเริ่มฝึกสมาธิกัน โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะฝึกสมาธิกับอะไร เช่น การเพ่งกสิณ การมองพระพุทธรูป และที่นิยมคือการติดตามลมหายใจของตนเองในขณะนั่ง และติดตามการเดินของตนเอง ในขณะเดินจงกลม ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ผลดีชนิดหนึ่ง ในบางตำรา และบางสำนัก นิยมให้ฝึกสมาธิแบบเป็นชุด คือ เดินจงกลมส่วนหนึ่ง เสร็จแล้วมานั่งสมาธิอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้การฝึกสมาธิ พัฒนาไปได้เร็วยิ่งขึ้น บางตำราให้เพิ่มการนอนสมาธิ หลังจากการนั่งสมาธิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
ก่อนทำสมาธินั้นควรตั้งจิต อธิษฐานว่าจะทำสมาธิ รวมทั้งมนัสการคุณพระรัตนตรัยก่อน
สำหรับการจัดท่าทางการทำสมาธินั้น ขอให้ผ่อนคลายแต่อย่าสบายจนหลับแล้วกัน
ข้อควรระวังที่ทำให้สมาธิฟุ้งซ่าน และไม่พัฒนาก็คือ การติดอยู่กับทางโลก โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ ชวนพาให้จิตใจฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิงไปได้ง่ายๆ ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เป็นตัวบั้นทอนสมาธิที่ร้ายกาจ การปล่อยอารมณ์โกรธ อาฆาตพยาบาทก็เป็นตัวทำลายสมาธิ และความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติก็เป็นตัวปัญหาสำคัญที่ทำให้การฝึกสมาธิไม่เป็นผล ที่ทางธรรมเรียกสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ว่า นิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งจำเป็นต้องปล่อยวางก่อนจะเข้าสู่การทำสมาธิ
หลังการทำสมาธิ ควรอุทิศบุญที่สำเร็จแก่ ตนเอง มารดาบิดา ญาติ ครูอาจารย์ เทพเทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกรูปทุกปาง เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร และแผ่เมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย
 
::: การฝึกสมาธิโดยการเพ่งภาพพระอริยสงฆ์ เพื่อระลึกถึงคุณพระสงฆ์ อย่างมองจุดใดจุดหนึ่งขององค์พระ ให้มองภาพรวมแล้วค่อยๆ จดจำภาพจนติดอยู่ในใจ แม้หลับตาแล้วก็สามารถเรียกภาพองค์พระ ปรากฏอยู่ในความรู้สึกได้ หากสมาธิสูงขึ้น ให้ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ จะยกระดับสมาธิ และจิตใจให้สูงขึ้นได้

การฝึกกับจอคอมพิวเตอร์ควรใช้เวลาไม่เกินครั้งละ 10 นาที และไม่ควรเพ่งสายตา ควรมองไปที่ภาพพระ เรื่อยๆ อย่างสงบ และใจเย็น และควรยกเลิกการตั้งค่า สกรีนเซฟเวอร์ เสียก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้สมาธิหลุดได้ เพราะการทำสมาธิอยู่นั้นจิต จะจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ หากมีการดับ หรือเปลี่ยนภาพ โดยไม่รู้ตัว อาจทำให้ตกใจได้


เครดิต จากเว็บ polyboon.com

No comments:

Post a Comment